Category Archives: บ้านไม้น็อคดาวน์

บ้านไม้น็อคดาวน์

7 ข้อดีของการซื้อบ้านสำเร็จรูป

7 ข้อดีของการซื้อบ้านสำเร็จรูป

สำหรับคนที่มีที่ดิน แต่ยังลังเลว่าจะสร้างเอง หรือจะซื้อมาสำเร็จรูปมาใช้งาน แอดมินจะเล่าข้อดีของบ้านสำเร็จรูปมาเพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้ 1. ไม่ต้องเสียเวลาออกแบบและค่าจ้างสถาปนิก/วิศวกรออกแบบ เพราะบ้านสำเร็จรูปมันจะมีรูปแบบมาให้เลือก โดยจะมีให้เลือกหลากหลายสไตล์ แล้วแต่ความชอบของลูกค้า 2. ก่อสร้างเร็วกว่า 5-10 เท่า บ้านโดยทั่วไปเมื่อเริ่มลงมือก่อสร้างจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 3 เดือนจนถึงปี กว่าจะสร้างเสร็จและเข้าอยู่ได้ ซึ่งในลูกค้าบางคนต้องการรีบใช้งาน เช่น การต่อเติมห้องสำเร็จผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุซึ่งจะรอเวลาไม่ได้ 3. ไม่ต้องวุ่นวายกับผู้รับเหมาและคนงาน ยิ่งในกรณีสร้างบ้านในพื้นที่เดิมด้วยแล้ว การมีคนงานเข้า-ออก ทุกวัน เป็นระยะเวลา 3 เดือน นอกจะไม่สะดวกแล้วยังมีความเสี่ยงเกิดปัญหาอาชญากรรมได้ 4. งบประมาณไม่บานปลาย เพราะส่วนใหญ่การสร้างบ้านเอง หากคุมเวลาก่อสร้างไม่ได้หรือ ผู้รับเหมาไม่สุจริต จะทำให้คุมค่าก่อสร้างไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากบ้านสำเร็จรูป ที่มักจะสรุปรูปแบบและราคาจบตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อสร้าง 5. บ้านสำเร็จรูปควบคุมคุณภาพได้ง่ายกว่าเพราะผลิตในโรงงาน และใช้ช่างที่ชำนาญ จะไม่เหมือนกับบ้านที่สร้างเองจะต้องมาลุ้นว่าผู้รับเหมาเอาคนงานห่วยๆ มาสร้างบ้านเราหรือปล่าว 6. สามารถขนย้ายได้ ในกรณีที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เมื่อหมดสัญญาเช่าแล้วเรายังสามารถย้ายบ้านไปปลูกที่อื่นได้ โดยไม่ต้องทุบทำลาย หรือต้องยกบ้านให้เจ้าของที่ดินไปฟรีๆ 7. สามารถต่อเติมขยายได้ ระบบบ้านสำเร็จรูปที่เป็นโมดูลาร์เราสามารถต่อเติมขยายได้เหมือนกับเลโก้ โดยในช่วงเราที่งบน้อยเราอาจจะซื้อเป็น Unit เล็กๆ […]

บ้านสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องเล็กทำหลังใหญ่ๆก็ได้

บ้านสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องเล็กทำหลังใหญ่ๆก็ได้

บ้านสำเร็จรูปเมื่อผลิตเสร็จแล้ว จะต้องถูกขนส่งโดยรถบรรทุกไปยังพื้นที่ติดตั้ง แต่มีข้อกฏหมายให้ขนส่งได้กว้างไม่เกินขนาดรถที่ 2.50 เมตร จึงเป็นข้อจำกัดให้บ้านสำเร็จรูปส่วนใหญ่ต้องทำขนาดเล็กเพื่อให้ขนส่งได้ แต่จริงๆ แล้วเราสามารถสร้างบ้านหลังใหญ่ได้ โดยการเอาแยกขนส่งแต่ละส่วนมาประกอบเป็นบ้านหลังใหญ่ เรียกว่าระบบ Modular โดยแอดมินเลือกรูปแบบที่สร้างบ้านโมดูลาร์ในต่างประเทศมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งทางทีม #BaanNext กำลังพัฒนา เพื่อทลายข้อจำกัดที่ว่าบ้านสำเร็จรูปจะมีแต่หลังเล็กๆ เท่านั้น #บ้านสำเร็จรูป #บ้านน็อคดาวน์ Credit : https://www.livinginacontainer.com/

ไอเดียแบบบ้านโมดูลาร์

ไอเดียแบบบ้านโมดูลาร์

บ้านที่ทำด้วยเหล็กจะร้อนไหม ?

บ้านที่ทำด้วยเหล็กจะร้อนไหม ?

เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนและมีแดดเกือบทั้งปี การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านจึงต้องพิจารณาเรื่องความร้อนเพื่อให้บ้านเย็นและอยู่สบาย การป้องกันความร้อนเข้าบ้านจะต้องพิจารณาใช้วัสดุที่เป็นเปลือกอาคารที่นำความร้อนต่ำ เช่น ไม้ หรืออิฐมวลเบา จะช่วยป้องกันความร้อนได้ แต่หากเลือกใช้วัสดุที่นำความร้อนได้ดีเช่นเหล็ก ก็จำเป็นต้องมีฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนอีกชั้น การเลือกใช้กระจกเยอะๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนี่งที่ทำให้บ้านร้อนได้หากรับแสงแดดโดยตรง ซี่งอาจจะแก้ไขได้โดยการทอนแสงโดยใช้ระแนง หรือการปลูกต้นไม้ช่วย #BaanNext #บ้านสำเร็จรูป #บ้านน็อคดาวน์ #บ้านเย็น

ซื้อบ้านสำเร็จรูปราคา 400,000 บาท จะได้บ้านขนาดเท่าไร

ซื้อบ้านสำเร็จรูปราคา 400,000 บาท จะได้บ้านขนาดเท่าไร

สำหรับคนที่ตั้งงบประมาณในการซื้อบ้านสำเร็จรูปราคาประมาณ 400,000 บาท คงมีข้อสงสัยว่าจะได้บ้านใหญ่แค่ไหน ทางแอดมินลองคำนวณขนาดมาเบื้องต้นดังนี้ ราคาบ้านสำเร็จรูปทั่วไปในตลาดตอนนี้อยู่ที่ราคาประมาณ 15,000 – 30,000 บาทต่อตารางเมตร สมมุติที่ราคาถูกสุด เราจะได้พื้นทีใช้สอยประมาณ 26.5 ตารางเมตร ซี่งขนาดนี้จะพอๆ กับคอนโดขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะพออาศัยอยุ่ได้ 1-2 คน แบบคับแคบนิดหน่อย ซึ่งลูกค้าทั่วไปก็คาดหวังว่าในราคา 400,000 บาทที่จ่ายไป อยากได้บ้านที่มีขนาดใหญ่พอที่จะอยู่อาศัยได้อย่างสบาย ซึงทางทีมงาน #BaanNext ได้ตระหนักถึงความต้องการของลูกค้า และกำลังพัฒนาบ้านสำเร็จรูปที่คุ้มราคาออกมา ซึ่งทุกท่านจะได้เห็นภายในสิ้นปี้นี้แน่นอน #บ้านสำเร็จรูป #บ้านน็อคดาวน์

สร้างบ้านแล้วดินทรุดแก้ไขอย่างไร ?

สร้างบ้านแล้วดินทรุดแก้ไขอย่างไร?

ตอนเริ่มสร้างบ้าน ส่วนใหญ่เราจะต้องถมดินเพิ่ม เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม แต่ปัญหาที่ตามมาคือดินที่ถมมักจะทรุด และทำให้โครงสร้างถนนและลานจอดรถร้าว ซึ่งบ้านบางหลังดินทรุดเกิน 50 ซม. ก็มี แล้วเราจะเลี่ยงปัญหาดินทรุดได้อย่างไร คำตอบคือ 1. อย่าสร้างบ้านบนพื้นที่ดินเหนียว เพราะ ดินเหนียวจะมีอัตราการทรุดตัวสูงกว่าดินทราย (อันนี้แก้ไขยากหน่อยเพราะเราย้ายตำแหน่งที่ดินไมได้ และพื้นที่กรุงเทพเป็นดินเหนียวเกือบ 100%) 2. ห้ามการสูบน้ำบาดาลมาใช้ เพราะดินทั่วไปจะประกอบด้วยเนื้อดินและน้ำ เมื่อเราสูบน้ำออกแจะทำให้ดินทรุด โดยให้นึกถึงฟองน้ำเมื่อเราสูบน้ำออกขนาดฟองน้ำจะเล็กลง เรียกภาษาวิชาการว่า Consolidation 3. การถมดินทิ้งไว้สัก 3-5 ปี เพื่อให้ทรุดตัวไปล่วงหน้าก่อนที่จะเราจะสร้างบ้าน แต่อันนี้ต้องรอนานหน่อย อาจจะไม่ถุกใจวัยรุ่นใจร้อน 4. การใช้เทคนิคด้านวิศวกรรมชั้นสูง เช่น PVD หรือ Vacuum อันนี้เป็นวิธีเร่งการทรุดโดยการดึงน้ำในดินออกมาทำให้เนื้อดินแน่นขึ้น แต่ราคาสูงไม่เหมาะกับมาใช้กับบ้าน จากข้อสรุปต่างๆ จะเห็นว่าการแก้ไขดินทรุดเป็นอะไรที่ยากมาก แนวทางที่แนะนำคือการสร้างบ้านบนโครงสร้างเสาเข็มยาว เพื่อป้องกันไม่ให้ดินที่ทรุดกระทบถึงโครงสร้างบ้าน รวมถึงการเลือกใช้ Approach Slab ในจุดต่อของบ้านกับถนนหน้าบ้าน เผื่อว่าหากดินทรุดแล้ว เรายังเอารถเข้าไปจอดในบ้านได้ หรือหากเวลาไม่ใช้ปํญหา การถมดินทิ้งไว้ ก็เป็นแนวทางที่ดี การทรุตตัวปกติจะเกิดมากในปีแรกๆ และสัดส่วนการทรุดจะลดลงตามทีปีที่เพิ่มขึ้น […]