10 คำถามเกี่ยวกับบ้านน็อคดาว

1.เอาของมาสต็อกในบ้านหนัก 1 ตัน บ้านจะพังไหม

ตอนนี้คนเริ่มมาขายของออนไลน์มากขึ้นและบางทีจะต้องต้องสต๊อกของบนบ้าน แต่จะรู้ได้ยังไงว่าจะเก็บของได้หนักเท่าไร ถ้าวางของ 1 ตันในห้อง บ้านจะพังไหม

ตามกฏหมายควบคุมอาคาร วิศวกรจะต้องออกแบบบ้านให้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามที่กฏหมายกำหนด โดยบ้านทั่วไปจะต้องรับน้ำหนักได้ 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

ดังนั้นถ้าห้องขนาด 4X4 เมตร จะสามารถวางของได้หนักประมาณ 4x4x150 = 2.4 ตัน แต่ทั้งนี้ควรจะวางให้กระจายทั่วๆ ห้อง อย่าวางกระจุกอยู่มุมใดมุมหนึ่ง

2. บ้านดินทรุดแก้ไขยังไง

ปัญหาดินทรุดมักเกิดกับพื้นที่ ดินถมใหม่อายุน้อยกว่า 5 ปี เนื่องจากดินยังไม่เซ็ทตัว ทั้งนี้อัตราการทรุดจะเกิดมากในปีแรก และจะมีอัตราทรุดลดลงตามระยะเวลา เช่นในปีแรกอาจจะทรุด 10 ซม. ปีต่อมา 8 ซม. 6 ซม. 3 ซม.--> 1 ซม. ตามลำดับ

ดังนั้นเพื่อเลียงปัญหาการทรุดให้ถมดินทิ้งไว้สัก 2 ปีขึ้นไป แต่หากว่ารอไม่ได้ สามารถลดผลกระทบโดยการสร้างบ้านบนเสาเข็มยาว เพื่อให้ไม่การทรุดกระทบกับโครงสร้างบ้าน ส่วนที่พื้นรอบๆ ให้ออกแบบเผื่อดินทรุดไว้ 10-20 ซม. และเตรียมนำดินมาถมเติมภายหลัง

3. เสาเข็มทรุดแก้ไขได้ไหม

ปํญหาโครงสร้างบ้านที่แก้ไขยากที่สุดคือเสาเข็มทรุด เนื่องจากเสาเข็มเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านทั้งหมด การที่เสาเข็มทรุดย่อมส่งผลต่อเสา คาน พื้น หรือโครงสร้างในส่วนอื่นๆ

นอกจากจะส่งผลกระทบมาก แล้วยังซ่อมยากด้วย เพราะเป็นงานใต้ดิน มีพื้นที่ทำงานจำกัด แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการใช้เสาเข็ม Micro Pile เข้ามาแก้ไขได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าราคาจะแพงกว่าเสาเข็มธรรมดา 1.5 – 2 เท่าการเลือกใช้ Micro Pile ซ่อมบ้านนั้นมีข้อระวังคือจะต้องตอกเสาเข็มให้ยาวเท่าเสาเข็มเดิม (โดยทั่วไปคือเกิน 18 เมตร) เพื่อป้องกันบ้านทรุดไม่เท่ากัน ซึ่งก็จะสร้างปัญหาใหม่ในอนาคต

แต่จะดีที่สุดหากเราป้องกันปํญหาตั้งแต่แรก โดยการเลือกผู้รับเหมาเสาเข็มที่มีมาตรฐานไว้วางใจได้ เพราะงานซ่อมภายหลัง ย่อมจะแพงกว่า สร้างให้ดีตั้งแต่แรก

4.บ้านร้าวแบบไหนคือสัญญาณอันตราย

การพบรอยร้าวในบ้านอาจจะเป็นสัญญาณว่ามีความผิดปกติในบ้าน แต่ไม่ใช่ว่ารอยร้าวจะมีผลให้บ้างพัง หรือทำให้ความแข็งแรงของบ้านลดลง

หากจะแบ่งรอยร้าวที่อาจจะกระทบกับความแข็งแรงของตัวบ้านให้สังเกตุดังนี้ รอยร้าวมีขนาดความกว้างเกิน 0.3 มิลลิเมตร / รอยร้าวไม่หยุดแนะมีแนวโน้มกว้างขึ้นและยาวขึ้น / รอยร้าวเกิดที่พื้น, คาน, เสา / หากมีองค์ประกอบดังนี้แสดงว่าเป็นรอยร้าวอันตราย ให้แจ้งวิศวกรเข้ามาวิเคราะห์ และหากวิธีซ่อมแซมโดยด่วน

นอกจากนี้ให้สังเกตุรอยร้าวอีกประเภทคือรอยร้าวบนผนัง ที่มีมุมเฉียง 45 องศา เพราะอาจจะเป็นสัญญาณว่าเสาเข็มทรุด

แต่ปัญหาเรื่องการร้าวจะไม่พบในโครงสร้างเหล็ก เนื่องจากเหล็กมีความเหนียวกว่าคอนกรีต

5.อยากต่อเติมบ้านจะทำอย่างไร

เมื่อจะต่อเติมบ้านอย่างแรกจะต้องศึกษาพื้นทืจะทำ ว่าเรามีพื้นที่ว่างด้านข้างเท่าไร และเราจะต่อเติมออกไปกี่เมตร ซึ่งจะต้องพิจารณาด้านกฏหมายด้วย เพราะถ้าเราสร้างชิดพื้นที่เลยจะต้องมีคำยินยอมจากเพื่อนบ้านด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนร้องเรียนได้

ปํญหาการต่อเติมที่พบมาก เป็นเรื่องการทรุดทำให้เกิดรอยแยกของโครงสร้างใหม่และโครงสร้างเดิม ซึ่งเราป้องกันได้โดยการตอกเสาเข็มลึก 18 เมตร และเพื่อความปลอดภัยให้ทำโครงสร้างเสาและคานแยกออกจากบ้านเดิม

ส่วนที่ต้องระวังต่อมาคือปัญหารั่วซึม เนื่องจากหลังคาใหม่และหลังคาเก่าจะมีรอยต่อ ซี่งจะต้องป้องกันให้ดี ซึ่งปกติจะใช้วิธีการใช้เหล็กสังกะสีครอบทีรอยต่อและอุดด้วยวัสดุกันซึมประเภท PU Sealant หรือ Tape Seal

การต่อเติมปัจจุบันทำได้ทั้งจ้างผู้รับเหมามาก่อสร้าง หรืออาจจะซึ้อบ้านสำเร็จรูป บ้านน็อคดาวน์ มาประกอบยึดกับโครงสร้างเดิม ซึ่งจะสะดวกและง่ายกว่า

6. บ้านเดินได้ !!!

บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

ข้อดีของบ้านสำเร็จรูป/ บ้านน็อคดาวน์ ที่หลายคนอาจจะมองข้ามคือ บ้านแบบนี้สามารถถอดประกอบ และเคลื่อนย้ายได้โดยเฉพาะกรณีที่เราไม่ได้สร้างบ้านบนที่ดินตนเอง หรืออาจจะมีแผนการย้ายถิ่นฐาน ก็สามารถถอดไปประกอบที่ใหม่ได้โดยไม่ต้องลงทุนสร้างบ้านใหม่หลายๆรอบ

7. ฤดูฝนกับปัญหาน้ำรั่วเข้าบ้าน

ฤดูฝนกับปัญหาน้ำรั่วเข้าบ้านมักจะเป็นของคู่กันหากเราออกแบบบ้านมาไม่ดีพอ ซึ่งจุดเสี่ยงที่จะทำให้น้ำรั่วส่วนใหญ่จะเกิดที่หลังคา และรอยต่อวงกบ

การป้องกันปัญหาเราต้องเลือกใช้หลังคาให้ถูกต้อง เช่น หลังคาลอนคู่จะต้องมีระยะซ้อนกันไม่น้อยกว่า 20 ซม. และต้องมีความชันไม่น้อยกว่า 15 องศา หรือหากเราจะออกแบบหลังคาที่ชั้นน้อยกว่านี้ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้หลังคาเมทัลชีทซึ่งยอมให้ชันได้ถึง 5 องศา ซึ่งรายละเอียดสามารถดูจากมาตรฐานผู้ผลิตหลังคา หรือสอบถามผู้ออกแบบได้

บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต
บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

นอกจากการเลือกชนิดหลังคาแล้ว จุดนึงที่ต้องเน้นคือ จุดต่อของหลังคาที่มาชนกัน เพราะต้องมีรายละเอียดกันน้ำแบบพิเศษ เช่นต้องมี Tape Seal ตัวครอบแบบพิเศษ เพราะถ้าไม่ได้ออกแบบเผื่อไว้อาจจะได้น้ำตกภายในบ้านแบบไม่ได้ตั้งใจ

 และประเทศไทยเป็นสถานที่ฝนตกชุก การออกแบบให้มีชายคา จะช่วยการป้องกันน้ำรั่วอย่างมาก การออกแบบ Nordic อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับภูมิอากาศเมืองไทยเท่าไร แต่ถ้าจะทำเป็น Nordic จริงๆ ก็จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดเป็นพิเศษ

8.เช็คได้ไหมว่าบ้านที่เราอยู่ต้านทานแผ่นดินไหวไหม

ข่าวแผ่นดินไหวในประเทศไทยเริ่มได้ยินบ่อยขึ้น แต่ส่วนใหญ่จะเกิดที่จังหวัดภาคเหนือหรือประเทศเพื่อนบ้านเช่น พม่า และลาว แต่จากลักษณะทางธรณีวิทยาโอกาสเกิดแผ่นดินไหวในประเทศจะมีขนาดไม่เกินระดับ 7 ตามมาตราริกเตอร์

ตั้งแต่ปี 2550 มีกฏหมายกำหนดให้บ้านที่ออกแบบจะต้องพิจารณาให้ต้านทานแรงแผ่นดินไหว ซึ่งแรงแผ่นดินไหวที่กระทบกับกรุงเทพ จะไม่ส่งผลกับบ้าน 1-2 ชั้น แต่จะส่งผลกับอาคารที่มีขนาดสูง 8 ชั้นเป็นต้นไป ดังนั้นบ้านพักอาศัยจึงค่อยข้างปลอดภัยจากแรงแผ่นดินไหว

นอกจากนี้บ้านที่สร้างด้วยโครงสร้างเหล็กโดยปกติจะทนแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าบ้านปูน เนื่องจากเหล็กมีความเหนียวจึงจะไม่ถล่มง่ายๆ

บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

9.บ้านน็อคดาวน์ ทำจากเหล็ก H-Beam หรือเหล็กกล่อง อะไรดีกว่ากัน

ความแตกต่างของเหล็ก H-Beam และเหล็กกล่อง นอกจากรูปร่างหน้าที่ไม่เหมือนกันแล้วนั้น ยังแตกต่างกันที่ความหนาของเหล็ก เหล็ก H-Beam จะหนากว่าเหล็กกล่อง

เหล็ก H-Beam ความหนาจะเริ่มที่ 5.5 mm แต่เหล็กกล่องจะเริ่มที่ความหนา 1.6 mm ดังนั้นการเลือกใช้เหล็กกล่อง เมื่อเป็นสนิมอาจจะทำให้ความแข็งแรงลดลงได้หากต้องการบ้านที่ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน โครงสร้างหลักเช่น เสา-คาน หลักควรจะใช้เป็นเหล็ก H-Beam ในส่วนโครงสร้างอื่นๆ อาจจะเลือกใช้เหล็กกล่องได้ตามความแหมาะสมนอกจากนี้การเลือกใช้เหล็ก H-Beam ยังมีความสวยงาม เหมาะกับบ้านรูปทรงลอฟท์ และโมเดิร์นอีกด้วย

บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

10.บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

Life Style ของคนรุ่นใหม่จะมีความรักอิสระ ไม่ค่อยยึดติดกับสถานที่ และบรรยากาศเดิมๆ ดังนันจึงมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายตลอดเวลา

การซื้อบ้านจัดสรรรูปแบบเดิมอาจะไม่ตอบโจทย์ เพราะต้องยึดกับพื้นที่พร้อมภาระผ่อน 20-30 ปี  และคนรุ่นใหม่ไม่นิยมมีลูกมาก การมีบ้านใหญ่อาจจะยิ่งเป็นภาระในการทำงานบ้านด้วย

ดังนั้นบางคนจึงนิยมจะอยู่คอนโด แต่หลังจากโควิด การอยู่ร่วมกับคนหมู่มากอาจจะไม่ใช่คำตอบ บ้านสำเร็จรูปจึงเป็นอีกทางเลือกนึงเพราะเราสามารถ Design รูปแบบการอยู่อาศัยได้เองไม่ต้องอยู่รวมกันในคอนโดขนาดใหญ่

นอกจากนี้บ้านสำเร็จรูปยังมีจุดแข็งว่าสามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ด้วย ในเวลาที่เราต้องการเปลี่ยน Location ไปอยู่ใกล้ธรรมชาติ เช่น เขาใหญ่ หรือเชียงใหม่ เป็นต้น

บ้านสำเร็จรูปกับการอยู่อาศัยในอนาคต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *